ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail or e-mail)
เนื่องจากในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน ทำให้ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันสารถทำได้ง่าย โดยไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางว่าจะใกล้หรือไกลเพียงใด ดังนั้น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมากผู้ใช้สามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆ ที่ใช้บริการนี้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ไกลเพียงใด และมีความสะดวก-รวดเร็วกว่าการใช้ริการระบบไปรษณีย์ตามปกติ นอกจากนั้นยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษร เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น แนบไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย โดยการส่งอีเมลก็ต้องมีการจ่าหน้าถึงผู้รับเชนเดียวกันกับการส่งไปรษณีย์ทั่วไป ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่ซึ่งเรียกว่า อีเมลแอดเดรส (e-mail address) สำหรับรูปแบบของอีเมลแอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (user name) และชื่อโดเมน (domain name) โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอด ) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่าง เช่น waraporn@aksor.com ซึ่งมีชื่อผู้ใช้ คือ waraporn และชื่อโดเมน aksorn.com เมื่อผู้ใช้ส่งอีเมล อีเมลนั้นจะถูกเก็บไว้ที่เรื่องเซิร์ฟเวอร์ (mail server) จนกระทังผู้รับมาเปิดอ่าน
การใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ ได้แก่
การใช้งานด้วยซอฟต์แวร์ไคลเอนต์
เช่น ไมโครซอฟต์เอาท์ลุก (Microsoft Outlook)
ซึ่งผู้ใช้งานต้องลงชื่อเพื่อเข้าใช้ระบบเครือข่าย หรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก่อน
ปัจจุบันหน่วยงานบางแห่งได้มรดารพัฒนารูปแบบการให้บริการรับส่งอีเมลขึ้นใหม่
เพื่อรองรับการใช้งานผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บได้ด้วย โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนที่เว็บไซต์ของหน่วยงานที่เปิดบริการหลังจากนั้นจะได้รับอีเมลแอดเดรสและรหัสผ่านเพื่อขอใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว บริการรับส่งอีเมลผ่านเว็บในลักษณะนี้เรียกว่า
เว็บเมล (web mail)
สำหรับเว็บเมลของประเทศไทยที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เช่น http://www.chaiyomail.com http://www.thaimail.com เป็นต้น
ส่วนอีเมลของต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เช่น http://www.hotmail.com http://yahoomail.com http://www.gmail.com เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น